ขั้นตอนการตรวจสอบของคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’

เป้าหมายของคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ คือการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้อ่าน...ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เดินทางและทานอาหารเพื่อธุรกิจหรือความเพลิดเพลินก็ตาม คุณภาพเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ ความใส่ใจในทุกรายละเอียดเป็นปรัชญาในการทำงานของเรา และความถูกต้องแม่นยำคือหลักการที่เรายึดถือ

เป้าหมายของคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ คือการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้อ่าน...ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เดินทางและทานอาหารเพื่อธุรกิจหรือความเพลิดเพลินก็ตาม คุณภาพเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ ความใส่ใจในทุกรายละเอียดเป็นปรัชญาในการทำงานของเรา และความถูกต้องแม่นยำคือหลักการที่เรายึดถือ

จำนวนผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ แต่ละปีอยู่ที่ราว 500 คน

1.บรรณาธิการใหญ่กำหนดการออกรอบตรวจสอบของผู้ตรวจสอบ โดยในแต่ละปีผู้ตรวจสอบ ของมิชลินจะได้รับมอบหมายให้ตรวจประเมินร้านอาหารในภูมิภาคที่แตกต่างออกไป จากเดิมเป็นเวลานานหลายเดือน

2.ผู้ตรวจสอบจะทำงานนอกสถานที่เดือนละ 3 สัปดาห์ ทั้งค้นหา ตรวจสอบ และยืนยันการ ให้บริการของที่พักและร้านอาหารต่างๆ โดยจะกลับเข้าสำนักงานมิชลินในสัปดาห์ที่ 4 เพื่อ นำเสนอรายงานและเตรียมความพร้อมสำหรับแผนการเดินทางครั้งต่อไป

ก่อนการเดินทางแต่ละครั้ง ผู้ตรวจสอบจะเตรียมวางแผนการทำงานตลอดทั้งสัปดาห์อย่าง เป็นระบบด้วยการติดตามข่าวสารในท้องถิ่น ตลอดจนสื่อสังคมออนไลน์และการแสดงความ คิดเห็นของลูกค้า รวมถึงสอบถามร้านอาหารแนะนำจากคนในพื้นที่ เรียกได้ว่าเป็นงานภาคสนามอย่างแท้จริงเลยทีเดียว

3.เมื่อผู้ตรวจสอบออกรอบตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้ว ต้องมารวมตัวเพื่อคัดเลือกร้านอาหารร่วมกัน ทั้งนี้ จะมีการจัดประชุมเพื่อพิจารณามอบรางวัลดาวมิชลิน (Star Sessions) โดยมี บรรณาธิการใหญ่ของคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับประจำเมืองหรือประเทศนั้นๆ ตลอดจน ผู้ตรวจสอบและผู้บริหาร ‘มิชลิน ไกด์’ เข้าร่วมการประชุม หากมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน เกิดขึ้น จะมีการเข้าตรวจสอบร้านอาหารหรือที่พักนั้นๆ อีกครั้งจนกว่าผลการตัดสินจะเป็น เอกฉันท์

4.การเขียนเนื้อหาในคู่มือจะเริ่มขึ้นเมื่อได้รับผลการรายงานทั้งหมดจากผู้ตรวจสอบ โดยทีม อำนวยการจะปรับแผนที่ถนนและข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ ให้สอดคล้องตามรายงานล่าสุด ในขณะเดียวกันนักเขียนจะเตรียมเขียนบทความ

บทบาทของผู้ตรวจสอบไม่ใช่การตัดสินศาสตร์และศิลป์ทางด้านอาหารของประเทศหนึ่ง ประเทศใด แต่คือการประเมินคุณภาพวัตถุดิบ ความกลมกล่อมของรสชาติ และลักษณะ เฉพาะตัวของเชฟที่สื่อผ่านอาหารที่ปรุงขึ้น

5.เมื่อได้ข้อสรุปเกี่ยวกับรูปแบบของคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ แล้ว จะมีการรวมรวบ ตรวจสอบ และ จัดหน้าข้อความ แผนที่ถนน รูปภาพ ตลอดจนเนื้อหาต่างๆ จากนั้นจึงส่งเนื้อหาที่ผ่านการ อนุมัติแล้วเข้าสู่กระบวนการพิมพ์ ภายใน 2-3 สัปดาห์หลังจากนั้น คู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ จะ ออกจากแท่นพิมพ์พร้อมขนส่งไปวางจำหน่ายยังจุดจำหน่ายต่างๆ

เกือบจะทันทีที่คู่มือถูกส่งเข้าโรงพิมพ์ ทีมผู้ตรวจสอบของมิชลินจะกลับไปทำหน้าที่ของตน นอกสถานที่อีกครั้ง เพื่อติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวล่าสุด และเตรียมพร้อมสำหรับการ คัดเลือกร้านอาหารและที่พักในปีต่อไป

ผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดทำคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’

ลูกค้า: ผู้อ่านถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าสำหรับคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ เมื่อผู้อ่านเข้าพักในโรงแรมหรือใช้บริการในร้านอาหาร พวกเขาจะทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบไปในตัว เราได้รับจดหมายและอีเมลมากกว่า 45,000 ฉบับจากผู้อ่านทุกปี ทั้งคำชมและคำวิจารณ์ ซึ่งถูกใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ตรวจสอบของมิชลินในการเลือกร้านอาหารที่จะแวะไปชิมและปรับปรุงคุณภาพการคัดสรรร้านอาหาร

ผู้ตรวจสอบของมิชลิน: ผู้ตรวจสอบของมิชลินคือลูกค้าธรรมดาๆ ทั่วไป ทั้งหญิงและชายหลากหลายสัญชาติ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายงานด้านอาหารและบริการ ผู้ตรวจสอบเหล่านี้เดินทางเป็นระยะทางเฉลี่ยกว่า 30,000 กิโลเมตรต่อปี เพื่อชิมอาหารราว 250 มื้อในร้านอาหาร และค้างคืนในที่พักกว่า 160 แห่ง พวกเขาต่างทำงานโดยไม่เปิดเผยตัว ไม่จดบันทึกข้อมูลใดๆ ระหว่างรับประทานอาหาร และชำระค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด ในกรณีที่จำเป็น หลังชำระค่าอาหารแล้ว ผู้ตรวจสอบอาจแนะนำตัวเองเพื่อสอบถามข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม

มืออาชีพในสายงานด้านบริการ: ด้วยความเป็นมืออาชีพ ความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ และความปรารถนาที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ผู้มีอาชีพในสายงานด้านบริการต่างทำงานในแต่ละวันโดยมุ่งเน้นคุณภาพเป็นหลัก พวกเขามีส่วนช่วยให้การคัดสรรและจัดอันดับของคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ดำเนินอยู่ต่อไปและมีการปรับเปลี่ยนข้อมูลทุกปีเพื่อสะท้อนถึงความไม่หยุดนิ่งที่จะปรับตัวและความมีชีวิตชีวาของภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา


หลักเกณฑ์ 5 ประการในการประเมินคุณภาพของร้านอาหารของ Inspector มิชลิน ไกด์

ดูอย่างอื่นต่อ - เรื่องราวที่คุณอาจสนใจ