สิ่งที่น่าสนใจ 3 minutes 11 กุมภาพันธ์ 2022

เปิดสูตรลับร้านอาหาร: อาหารจากปลาปักเป้า ความอร่อยที่ฉาบด้วยอันตราย

สองเชฟจากร้านอาหารที่เชี่ยวชาญเรื่องปลาปักเป้าระดับรางวัลมิชลินสตาร์ในโอซาก้าอธิบายถึงเสน่ห์ของปลาที่มีพิษชนิดนี้

เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะราชาแห่งวัตถุดิบฤดูหนาว ฟุกุหรือปลาปักเป้าเป็นอาหารอันโอชะที่สร้างความสุขให้แก่ชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศ ปลาปักเป้ามีอยู่ด้วยกันหลายสายพันธุ์ แต่ร้านค้าเฉพาะทางจะเสิร์ฟโทระฟุกุหรือปลาปักเป้าเสือในเมนูทั่วไป เช่น ซึคุริดิบสไลด์บาง ๆ และหม้อไฟจิรินาเบะที่แสนอบอุ่น

เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะราชาแห่งวัตถุดิบฤดูหนาว ฟุกุหรือปลาปักเป้าเป็นอาหารอันโอชะที่สร้างความสุขให้แก่ชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศ (© Shutterstock)
เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะราชาแห่งวัตถุดิบฤดูหนาว ฟุกุหรือปลาปักเป้าเป็นอาหารอันโอชะที่สร้างความสุขให้แก่ชาวญี่ปุ่นทั่วประเทศ (© Shutterstock)

แม้ว่าเนื้อปลาปักเป้าจะมีรสชาติอ่อนและสะอาด แต่ก็มีกรดกลูตามิกและกรดอินโนซินิก และให้รสอูมามิมากกว่าปลาเนื้อขาวอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหน้าตาน่ารักเหมือนลูกโป่ง ปลาปักเป้าและรสชาติที่แสนอร่อยนั้นมาพร้อมกับความเป็นเพชฌฆาตแห่งผืนน้ำ เนื่องจากอวัยวะของปลาปักเป้ามีพิษร้ายแรง บางครั้งมันจึงได้ฉายาว่า "ปืน" ในภาษาญี่ปุ่น

แม้จะมีหน้าตาน่ารักเหมือนลูกโป่ง ปลาปักเป้าและรสชาติที่อร่อยนั้นมาพร้อมกับการความเป็นเพชฌฆาตแห่งผืนน้ำ (© Shutterstock)
แม้จะมีหน้าตาน่ารักเหมือนลูกโป่ง ปลาปักเป้าและรสชาติที่อร่อยนั้นมาพร้อมกับการความเป็นเพชฌฆาตแห่งผืนน้ำ (© Shutterstock)

ตามเทพนิยายของชาวเยอรมัน สโนว์ไวท์สลบไสลหลังจากกินแอปเปิ้ลเข้าไป แต่ในญี่ปุ่น ผู้คนเสียชีวิตจากการกินตับของปลาปักเป้า และนั่นทำให้เรารู้ว่าความอร่อยนั้นมาพร้อมกับอันตราย ดังนั้น ร้านอาหารที่ใช้ปลาปักเป้าเป็นวัตถุดิบจึงจำเป็นต้องมีใบอนุญาตในการประกอบอาหาร ไม่เพียงแต่เชฟจะต้องมีความรู้และทักษะเท่านั้น แต่ยังต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดด้วย

ส่วนใหญ่คนญี่ปุ่นในแถบโอซาก้ามักนิยมบริโภคปลาปักเป้า เนื่องจากทางตะวันตกของญี่ปุ่นเป็นพื้นที่การผลิตชั้นนำ ดังนั้นปลาปักเป้าจึงมีขายที่นี่มาอย่างยาวนานในราคาที่เข้าถึงได้ และเป็นอาหารยอดนิยมอันโอชะ

เราพูดคุยกับเชฟร้านอาหารสองแห่งที่ได้รับรางวัลคู่มือมิชลินไกด์ฉบับโอซาก้าซึ่งเชี่ยวชาญการทำอาหารจากปลาปักเป้า


อ่าน: คู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับเกียวโตและโอซากา ประจำ พ.ศ. 2564 ประกาศรายชื่อร้านอาหารที่ได้รับรางวัลแล้ว

เชฟโคจิ คิมูระ แห่งร้าน Yunagibashi Takoyasu
เชฟโคจิ คิมูระ แห่งร้าน Yunagibashi Takoyasu

Yunagibashi Takoyasu
รางวัลหนึ่งดาวมิชลิน, คู่มือ 'มิชลิน ไกด์' ฉบับเกียวโต โอซากา และโอโกฮาม่า ประจำปี 2564

แม้จะก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2472 โคจิ คิมูระ เชฟรุ่นที่สามก็ยังคงรักษารสชาติดั้งเดิมของร้านอาหารที่ได้รับการสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นแห่งนี้เอาไว้

ซาชิมิปลาปักเป้า
ซาชิมิปลาปักเป้า

คิมูระคิดว่ายิ่งปลาที่มีน้ำหนักมากเท่าไรก็ยิ่งมีรสชาติมากขึ้นเท่านั้น เขาดั้นด้นไปถึงแหล่งที่อยู่ธรรมชาติของปลาปักเป้าซึ่งมีน้ำหนักเกิน 6 กก. จากทะเลจีนตะวันออก เขานิยมใช้ปลาตัวผู้เนื่องจากมีชิราโกะหรือถุงอสุจิในตัวปลา เขาหมักบ่มปลาเป็นเวลาหลายวันเพื่อเพิ่มรสชาติ ซาซิมิของเขาจะถูกหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ในขณะที่ปลาปักเป้าสำหรับหม้อไฟชาบูจะถูกตัดให้หนาขึ้น

หนังปลาปักเป้าดองในซอสพอนสึ (ซ้าย) และนิโกโกริผสมงา (ขวา)
หนังปลาปักเป้าดองในซอสพอนสึ (ซ้าย) และนิโกโกริผสมงา (ขวา)

หนังปลาปักเป้าที่ดองในซอสพอนสึเป็นเมนูที่เจ้าของร้านรุ่นแรกเป็นผู้คิดค้น มีจุดเด่นอยู่ที่ความข้นของไข่แดงซึ่งทำให้รสเปรี้ยวของอาหารกลมกล่อมมากขึ้น

นิโกโกริผสมงาเป็นผลงานของเชฟเจ้าของร้านรุ่นปัจจุบัน เขานำเสนอเนื้อปลาปักเป้าที่ห่อหุ้มด้วยแอสปิกเจลาติน โรยหน้าด้วยงาหอมกรุ่นซึ่งเข้ากันได้ดีกับเครื่องปรุงที่มีรสหวาน

จิรินาเบะ
จิรินาเบะ

เมนูซิกเนเจอร์อีกจานหนึ่งของร้านหนีไม่พ้นจิรินาเบะคลุกเคล้าด้วยชิราโกะของปลาปักเป้าทำให้หม้อไฟมีความเข้มข้นยิ่งขึ้น เมนูนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากอาหารของพนักงานที่ผสมน้ำคัดหลั่งจากปลาที่เหลือลงในซุปมิโซะและทำให้ได้อาหารสูตรพิเศษที่ทุกคนสามารถทานได้อย่างเพลิดเพลิน

Kiichi Kitahama.jpg

Kitahachi 
รางวัลสองดาวมิชลินจากคู่มือมิชลินไกด์ฉบับเกียวโตและโอซากา โอโกฮาม่า ประจำปี 2564

คิอิจิ คิตาฮามะเกิดในปี 2471 และเป็นเชฟมิชลินระดับสองดาวที่อายุมากที่สุดในโลก หรือเป็นรู้จักกันในนาม "ดร.แห่งปลาปักเป้า" เขาอุทิศทั้งชีวิตให้กับปลาชนิดนี้ เมื่อเริ่มค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับปลาปักเป้าเพื่อขจัดความเสี่ยงจากพิษของมัน เขากลับรู้สึกทึ่งกับปลาปักเป้ารวมถึงรวมถึงวิถีชีวิตของมัน เขาหัวเราะและกล่าวว่า รู้ตัวอีกทีเขาก็ "ตกเป็นเหยื่อ" ของปลาปักเป้าเสียแล้ว

ซาชิมิปลาปักเป้าเสิร์ฟพร้อมบ๊วย
ซาชิมิปลาปักเป้าเสิร์ฟพร้อมบ๊วย

จากการวิจัยค้นพบว่าจำนวนเซลล์ในตัวของปลาปักเป้าล้วนเท่ากันไม่ว่าจะมีขนาดตัวเท่าใดก็ตาม แต่เขากลับชอบปลาปักเป้าที่จับได้ตามธรรมชาติที่มีน้ำหนักน้อยกว่าสองกิโลกรัมและบ่มมันไว้เกือบครึ่งวัน เนื่องจากเซลล์อูมามิจะเรียงตัวตามเส้นใยในเนื้อ เขาจึงหั่นซาซิมิเป็นชิ้นบางๆ ตามเส้นใยนั้น นอกจากนี้ยังเสิร์ฟพร้อมกับบ๊วยเพื่อก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างกรดอินโนซินิกของปลาปักเป้าและกรดซิตริกของบ๊วยญี่ปุ่น

ซุปฟุกุชิราโกะ (ซ้าย) และฟุกุนิโกโกริ (ขวา)
ซุปฟุกุชิราโกะ (ซ้าย) และฟุกุนิโกโกริ (ขวา)

ชิราโกะที่ต้มในซุปเป็นอาหารที่สืบทอดมาจากผู้ก่อตั้งที่ค้นพบวิธีลับในการปรุงรสชิราโกะซึ่งตามปกติแล้วไม่สามารถผ่านการหมักบ่มได้

นิโกโกริที่โปร่งใสในรูปแบบวุ้นของร้านมีรูปลักษณ์ที่สวยงามน่าชม ผิวหนังของปลาปักเป้ายังถูกจัดเรียงอย่างมีศิลปะเป็นรูปแบบตาหมากรุกขาวดำที่แสดงถึงความมีระเบียบแบบญี่ปุ่นอีกด้วย

Fugu museum Kitahachi.jpg

คิตาฮามะยังเปิดพิพิธภัณฑ์ปลาปักเป้าซึ่งเขาจัดแสดงเอกสารและตัวอย่างสายพันธุ์ปลาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยอันยาวนานของเขา เขากล่าวว่านักวิจัยจากทั่วทุกมุมโลกมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เพื่อเสริมความรู้ในด้านมีนวิทยา (เรื่องที่เกี่ยวข้องกับปลา)

ร้านอาหารเฉพาะสำหรับปลาปักเป้าที่มิชลินแนะนำทั้งสองร้านในโอซาก้านี้แสดงให้เห็นถึงความชื่นชอบที่ไม่ธรรมดาของเจ้าของร้านที่มีต่ออาหารอันโอชะชนิดนี้ ทักษะของคิมูระมาจากประสบการณ์ที่สืบทอดต่อมาสามชั่วอายุคน ตั้งแต่พ่อสู่ลูก ในขณะที่คิตาฮามะอุทิศเวลาทั้งชีวิตเพื่อค้นคว้าปลาด้วยมุมมองทางวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมอาหารที่เป็นเอกลักษณ์นี้ยังคงสืบทอดกันมายาวนานตลอดหลายศตวรรษ และดึงดูดนักชิมที่แสวงหาการผจญภัย แม้จะเสี่ยงต่อการถูกพิษ (หรืออาจเป็นเพราะเหตุนี้) ปลาปักเป้าก็ยังคงมีเสน่ห์ดึงดูดที่ลึกลับเกินกว่าจะหาได้จากรสชาติเพียงอย่างเดียว

ทำไมคนญี่ปุ่นถึงชอบปลาปักเป้ามากจนต้องท้าทายกับอันตราย คุณคงไม่มีทางรู้จนกว่าจะได้ลิ้มลองด้วยตัวเอง


อ่านต่อ: ทำไมผัดกะเพราไทยจึงขึ้นแท่นอาหารจานโปรดของคนญี่ปุ่น

สิ่งที่น่าสนใจ

ดูอย่างอื่นต่อ - เรื่องราวที่คุณอาจสนใจ