ข่าวสารและกิจกรรม 2 minutes 01 พฤศจิกายน 2019

'มิชลิน ไกด์' ประเทศไทย ขอร่วมรักสิ่งแวดล้อมผ่านแนวคิด Zero Food Waste to Landfill ในงานประกาศผลรางวัล 'มิชลิน ไกด์' ประจำปี พ.ศ. 2563

ด้วยความร่วมมือจาก LightBlue Environmental Consulting (LBEC) ในงานประกาศผลรางวัล 'มิชลิน ไกด์' ประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2563 เราพร้อมบรรลุเป้าหมายที่หลายคนคิดว่าเป็นไปไม่ได้ นั่นก็คือไม่เหลือขยะใดๆ ให้ฝังกลบ หลังจากการทำอาหารในงานอีเวนต์ที่กำลังจะเกิดขึ้นเลย

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประเมินว่า ในแต่ละปี มีอาหารที่ถูกทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ (food waste) ประมาณ 1 ใน 3 ของอาหารทั้งหมดที่มนุษย์ผลิตขึ้น คิดเป็นปริมาณกว่า 1,300 ล้านตัน ซึ่งปริมาณดังกล่าวเพียงพอต่อการเลี้ยงประชากรกว่า 3,000 ล้านคนเลยทีเดียว

เมื่อลองคิดถึงทรัพยากรที่เราต้องใช้ผลิต จัดเก็บ และนำส่ง ไม่ว่าจะเป็นที่ดินเพาะปลูก น้ำ พลังงาน และแรงงาน การกินอาหารทิ้งขว้างหรือปล่อยให้เน่าเสียส่งผลเสียต่อธรรมชาติในวงกว้าง ถ้าลอง เปรียบขยะอาหารเป็นประเทศ ดินแดนแห่งนี้จะเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดัน 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน

อาหารที่เหลือทิ้ง นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลให้เราต้องเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์
อาหารที่เหลือทิ้ง นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลให้เราต้องเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์

ในอุตสาหกรรมด้านบริการ มีการทิ้งอาหารที่ทำจำหน่ายลงขยะสูงถึง 40% อีกนัยหนึ่งคือการโยนเงินทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่น้อยคนนักที่จะคำนึงถึงจุดนี้

LightBlue สามารถช่วยอุตสาหกรรมด้านบริการจัดการปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ทางบริษัทจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทราบว่ามีอาหารถูกทิ้งมากน้อยเพียงใด ทำไมจึงทิ้ง อาหารที่เหลือทิ้งเป็นขยะประเภทไหน ใครเป็นคนทิ้ง เมื่อไหร่ รวมถึงมูลค่าของขยะดังกล่าว คำตอบที่ได้จะช่วยกระตุ้นให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมมองเห็นถึงความรุนแรงและความสำคัญของปัญหานี้ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

คลาสเรียนที่จัดขึ้น ที่โรงแรมแบงค็อกแมริออท เดอะ สุรวงศ์ โดยมีเชฟและทีมงานครัวที่เกี่ยวข้องกับงานประกาศผลรางวัล 'มิชลิน ไกด์' ประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2563 เข้าร่วม
คลาสเรียนที่จัดขึ้น ที่โรงแรมแบงค็อกแมริออท เดอะ สุรวงศ์ โดยมีเชฟและทีมงานครัวที่เกี่ยวข้องกับงานประกาศผลรางวัล 'มิชลิน ไกด์' ประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2563 เข้าร่วม

ในฐานะที่ 'มิชลิน ไกด์' มีส่วนในการขับเคลื่อนวงการอาหาร เราจึงอยากให้ผู้คนทั่วโลกตื่นตัวและหันมาร่วมลดขยะอาหาร โดยเราจะขอเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงนี้

งานประกาศผลรางวัล 'มิชลิน ไกด์' ประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2563 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 นี้ มีแขกผู้มีเกียรติมาร่วมงานกว่า 600 ท่าน เราจึงร่วมมือกับ LightBlue เพื่อจัดการไม่ให้เหลือขยะอาหารที่ต้องนำไปฝังกลบ (Zero Food Waste to Landfill) ผ่านวิธีการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำความเข้าใจกับทีมเชฟ โดยให้ความรู้ และช่วยออกแบบเมนู การออกแบบระบบส่งต่ออาหาร (food rescue) การให้ความรู้แก่ผู้ช่วยเชฟและบุคคลที่เกี่ยวข้อง การร่วมมือกับมูลนิธิต่าง ๆ ที่จะมารับอาหารส่วนเกินเพื่อส่งต่อให้ผู้ขาดแคลน และการแปลงขยะสดเป็นอาหารสัตว์หรือปุ๋ย

เชฟทุกท่านที่จะมารังสรรค์ดินเนอร์ในงานกาลาของเรา ได้นำเทคนิคต่างๆ ในคลาส ไปใช้ที่ร้านแลัว
เชฟทุกท่านที่จะมารังสรรค์ดินเนอร์ในงานกาลาของเรา ได้นำเทคนิคต่างๆ ในคลาส ไปใช้ที่ร้านแลัว
ทีมครัว โรงแรมแบงค็อกแมริออท เดอะ สุรวงศ์ พร้อมแล้วสำหรับความท้าทายในครั้งนี้
ทีมครัว โรงแรมแบงค็อกแมริออท เดอะ สุรวงศ์ พร้อมแล้วสำหรับความท้าทายในครั้งนี้

คุณ Gaëlle Van Hieu รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท มิชลิน เอ็กซ์พีเรียน ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “การสร้างและส่งเสริมความยั่งยืนเป็นเป้าหมายหนึ่งของกลุ่มบริษัทมิชลินทั่วโลกค่ะ มันไม่ใช่กระแส แต่เป็นสิ่งจำเป็นต้องทำ ในปัจจุบัน ร้านอาหาร เชฟ และคนในวงการอาหารต่างริเริ่มแนวทางและกระบวนการใหม่ ๆ มาสักพักใหญ่แล้ว เพื่อให้กิจกรรมที่พวกเขาทำส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด”

วิธีการดังกล่าวจะถูกประเมินด้วยตัวชี้วัดต่าง ๆ เช่น ปริมาณอาหารที่นำไปบริจาค (หน่วยวัดเป็น กก.) จำนวนมื้ออาหารที่ส่งต่อให้ผู้ขาดแคลน ปริมาณอาหารที่นำไปแปรรูป (หน่วยวัดเป็น กก.) และจำนวนก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงซึ่งวัดด้วยโปรแกรม Food Excess Monitoring (FEM)

เชฟ เเละทีมงาน LightBlue กำลังสนุกสนานในคลาสเรียน
เชฟ เเละทีมงาน LightBlue กำลังสนุกสนานในคลาสเรียน

คุณ Benjamin Lephilibert ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริหารบริษัท LightBlue เสริมว่า “ในฐานะ Technical Sustainability Partner เราจะนำความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมาปรับใช้เพื่อให้งานนี้ไม่เหลือขยะอาหารที่ต้องนำไปฝังกลบ 100% ถือเป็นงานที่ท้าทายที่สุดงานหนึ่งเลยครับ ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า งานนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ทุกคนหันมารังสรรค์อาหารโดยเน้นความยั่งยืนมากขึ้น”

LightBlue จัดลำดับความสำคัญของกระบวนการลดขยะอาหารในรูปแบบพีระมิด โดยเริ่มจากแนวปฏิบัติที่ดีสุดก่อน ซึ่งก็คือการป้องกัน และไล่ระดับไปเป็นการนำไปเลี้ยงผู้คน นำไปเลี้ยงสัตว์ และแปรรูป เพื่อหลีกเลี่ยงการนำไปฝังกลบ ซึ่งเป็นวิธีการที่แย่ที่ที่สุด

Benjamin Lephilibert ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริหารบริษัท LightBlue อธิบายกระบวนการลดขยะอาหารในรูปแบบพีระมิด
Benjamin Lephilibert ผู้ก่อตั้งและกรรมการบริหารบริษัท LightBlue อธิบายกระบวนการลดขยะอาหารในรูปแบบพีระมิด

คุณ Gaëlle เสริมว่า “นอกจากกระบวนการทางเทคนิคที่ยั่งยืนแล้ว เรายังสนับสนุนให้เหล่าเชฟเฟ้นหาวัตถุดิบจากท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคเหนือ (คู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2563 นี้ เป็นฉบับแรกที่เรารวมร้านเด็ดในเชียงใหม่เอาไว้)"

คลิกที่นี่เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ: https://www.lightblueconsulting.com/zero-food-waste-to-landfill  

เชฟที่จะมารังสรรค์ในงานดินเนอร์ ทีมงานแบงค็อกแมริออท เดอะ สุรวงศ์ และทีมงาน LightBlue ทำสัญลักษณ์มือรูปพีระมิด เพื่อแสดงจุดหมายร่วมกันในการทำโครงการนี้สำเร็จ
เชฟที่จะมารังสรรค์ในงานดินเนอร์ ทีมงานแบงค็อกแมริออท เดอะ สุรวงศ์ และทีมงาน LightBlue ทำสัญลักษณ์มือรูปพีระมิด เพื่อแสดงจุดหมายร่วมกันในการทำโครงการนี้สำเร็จ

ข่าวสารและกิจกรรม

ดูอย่างอื่นต่อ - เรื่องราวที่คุณอาจสนใจ