ทานอาหารนอกบ้าน 2 minutes 14 กันยายน 2021

ยิ่งกว่าความอร่อย เปิดดีไซน์เบื้องหลังร้านอาหารรางวัลมิชลินที่สวยที่สุดในกรุงเทพฯ

รับรองว่าอิ่มท้อง อร่อยสายตาแน่นอน

ไม่เพียงแต่รสชาติอาหารเท่านั้นที่มีส่วนสำคัญในการเลือกร้านอาหารของคุณ แต่สภาพแวดล้อมที่สวยงามยังช่วยเพิ่มประสบการณ์ในการรับประทานอาหารให้ดีขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย นี่คือผู้อยู่เบื้องหลังร้านอาหารรางวัลมิชลินที่ชวนตื่นตาตื่นใจทั้ง 5 แห่ง ซึ่งเรามั่นใจว่าคุณจะอดใจไม่ไหวที่จะแวะเวียนเพื่อมาแชะภาพลงอินสตาแกรมพร้อมกับเพลินกับมื้ออร่อยฝีมือเชฟสักครั้ง

ภายในร้านอาหารสีฟ้าที่หรูหราน่ามองที่กรุงเทพฯ ของเชฟชาวฝรั่งเศสชื่อดัง (© Blue by Alain Ducasse)
ภายในร้านอาหารสีฟ้าที่หรูหราน่ามองที่กรุงเทพฯ ของเชฟชาวฝรั่งเศสชื่อดัง (© Blue by Alain Ducasse)

Jouin Manku กับร้าน Blue by Alain Ducasse (รางวัลหนึ่งดาวมิชลิน จากคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับประเทศไทย ประจำปี 2564)
หลังจากที่ได้ร่วมงานกันครั้งแรกที่ปารีส สองสถาปนิก Patrick Jouin และ Sanjit Manku ยังคงไม่หยุดที่จะทลายขีดจำกัดของวัตถุ การตกแต่งภายใน และโครงสร้างต่าง ๆ เพื่อร่วมกันออกแบบสถานที่ที่ไม่เหมือนใคร ตัวอย่างที่ตราตรึงใจเรา ได้แก่ รังไหมสีขาวบริสุทธิ์ที่ Sur Mesure Par Thierry Marx (รางวัลสองดาวมิชลิน จากคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับกรุงปารีส ประจำปี 2564) แห่ง Mandarin Oriental Paris และห้องอาหารหรูหราที่ประดับประดาด้วยคริสตัลที่พร่างพราวราวหยาดฝนอย่าง Alain Ducasse au Plaza Athenée (อดีตรางวัลสามดาวมิชลิน)

ที่ร้าน Blue by Alain Ducasse อันตระการตา Jouin Manku พาคุณหนีไปไกลจากฉากของกรุงเทพฯ ที่พลุกพล่าน ด้วยการตกแต่งที่แปลกใหม่แต่กลมกลืนไปกับบรรยากาศริมน้ำ ร้านอาหารแห่งนี้พร้อมต้อนรับแขกผู้มาเยือน ตั้งแต่ห้องโถงที่ปูด้วยไม้ สู่เลานจ์ของร้านอาหารที่ออกแบบมาให้มีลักษณะคล้ายกับโถงของ Château de Versailles ไม่เพียงแต่โคมระย้าทรงจีบเหนือห้องอาหารหลักที่ดึงดูดสายตาของทุกคน แต่เรายังสามารถชื่นชมความหรูหราของผนังและทิวทัศน์มุมกว้างของแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านกระจกที่สูงจรดเพดานได้อีกด้วย


การตกแต่งภายในของร้านอาหารไร้พรมแดนของเชฟแดน บาร์ก (© Cadence by Dan Bark)
การตกแต่งภายในของร้านอาหารไร้พรมแดนของเชฟแดน บาร์ก (© Cadence by Dan Bark)

Paradigm Shift กับร้าน Cadence by Dan Bark (รางวัลหนึ่งดาวมิชลิน จากคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับประเทศไทย ประจำปี 2564)
เรากำลังพูดถึงสตูดิโอออกแบบสัญชาติไทยผู้เชื่อว่าการผสมผสานก่อให้เกิดความสมบูรณ์ ความเชี่ยวชาญของ Paradigm Shift ในการออกแบบร้านอาหารเป็นที่พูดถึงกันอย่างแพร่หลายในอดีต ซึ่งรวมถึงผลงานออกแบบร่วมให้กับ Canvas (รางวัลหนึ่งดาวมิชลิน) ด้วยเช่นกัน

Paradigm Shift สรรสร้าง Cadence ด้วยเครื่องหมายการค้าของสตูดิโอ เช่น โคมไฟระย้า โทนสีทอง และเก้าอี้ทรงโค้ง สิ่งที่อยู่ท่ามกลางการออกแบบที่หรูหราร่วมสมัยเหล่านี้คือห้องครัวที่เปิดโล่ง (และไม่ใช่ผนังกั้นแบบครึ่งท่อน) แขกผู้มาเยือนสามารถมองเห็นการทำอาหารรวม ถึงลิ้มลองผลงานสร้างสรรค์ที่ไม่มีวันสิ้นสุดของเชฟแดน บาร์ก (Dan Bark)

Who’s Behind The Beauty_ Get To Know The Most Photogenic MICHELIN-listed Restaurants In Bangkok5 (2).jpg

Avroko กับร้าน Nan Bei (รางวัลมิชลิน เพลท จากคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับประเทศไทย ประจำปี 2564)
การออกแบบของบริษัท Avroko ที่มีต้นกำเนิดในกรุงนิวยอร์กพร้อมมอบประสบการณ์ที่เชื่อมโยงอารมณ์กับผู้คนเสมอ ในบรรดาสตูดิโอสี่แห่งทั่วโลก สตูดิโอในกรุงเทพฯ มีความโดดเด่นในฐานะศูนย์รวมความงามของร้านอาหารที่ยากจะหาใครเทียบได้ รวมถึงร้านอาหารจีนร่วมสมัยอย่าง Nan Bei ที่โรงแรม Rosewood Bangkok

Avroko ยังคงยึดมั่นกับการออกแบบที่เน้นการเล่าเรื่องอันเป็นเอกลักษณ์ซึ่งทำให้ Nan Bei เป็นหนึ่งในจุดที่น่าถ่ายรูปลงอินสตาแกรมมากที่สุดในใจกลางกรุงเทพฯ อย่างเพลินจิต ตัวอย่างของมุมสวย ๆ ที่จะอยู่ในอินสตาแกรมของคุณ ได้แก่โคมไฟสูง 7 เมตรที่ได้รับแรงบันดาลใจจากตำนานรักของจีนเรื่องหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า ทางเดินผนังสีน้ำเงินที่ฉาบด้วยมือและพื้นลายหินอ่อน เก้าอี้หนังสีมัสตาร์ดตั้งอยู่เหนือพื้นหินอ่อนฝังสีสันสดใสในห้องอาหารหลัก หรือแม้แต่โคมระย้าทอด้วยเชือกสีน้ำเงินขนาดใหญ่ในส่วนของบาร์


นักออกแบบของญี่ปุ่นใส่ความหรูหราของเก้าอี้หนังและผนังแก้วทรงลูกบาศก์จำลองความหรูหราของมหานครโตเกียวในยุค 90 (© La Scala)
นักออกแบบของญี่ปุ่นใส่ความหรูหราของเก้าอี้หนังและผนังแก้วทรงลูกบาศก์จำลองความหรูหราของมหานครโตเกียวในยุค 90 (© La Scala)

Spin Off Co. กับร้าน La Scala (รางวัลมิชลิน เพลท จากคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับประเทศไทย ประจำปี 2564)
นับเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุง Club Wing ย้อนกลับไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา โรงแรมสุโขทัย กรุงเทพฯ ได้ยกระดับภาพลักษณ์ของ La Scala ด้วยความช่วยเหลือจากบริษัทออกแบบจากโตเกียวอย่าง Spin Off Co. บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นรายนี้ได้นำทองสัมฤทธิ์และดินเผามาผสมผสานกันอย่างมีรสนิยม โดยอ้างอิงถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของภูมิภาค ซึ่งเห็นได้ชัดในส่วนอื่น ๆ ทั้งหมดของโรงแรม นอกจากนี้ยังเพิ่มเก้าอี้หนังและผนังแก้วทรงลูกบาศก์เพื่อแสดงความหรูหราของโตเกียวในยุค 90

สัมผัสที่จัดจ้านผสานกับสถาปัตยกรรมโบราณของตึกแถวเจริญกรุงในย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ (© 80/20)
สัมผัสที่จัดจ้านผสานกับสถาปัตยกรรมโบราณของตึกแถวเจริญกรุงในย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ (© 80/20)

Whitespace กับร้าน 80/20 (รางวัลหนึ่งดาวมิชลิน จากคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ฉบับประเทศไทย ประจำปี 2564)
แนวทางการออกแบบตกแต่งภายในที่ทันสมัยของ Whitespace ดูเหมือนจะปรากฏเด่นชัดในร้านอาหารไม่กี่แห่งที่ได้รับรางวัลจากมิชลิน ตั้งแต่ร้าน La Dotta (รางวัลมิชลิน เพลท) ไปจนถึงร้านดังย่านเก่าแก่ของกรุงเทพฯ อย่าง 80/20 พวกเขามอบสัมผัสที่จัดจ้านผสานกับสถาปัตยกรรมโบราณของตึกแถวเจริญกรุงซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวร้าน ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างซากคอนกรีต อุตสาหกรรมดั้งเดิมแบบเรียบ ๆ และภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ทาสีด้วยมือแบบไทยล้วนสะท้อนถึงอาหารไทยยุคใหม่ของที่นี่ที่ไม่ควรพลาด


ทานอาหารนอกบ้าน

ดูอย่างอื่นต่อ - เรื่องราวที่คุณอาจสนใจ